วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

หน้าที่ ของ โมเด็ม

โมเด็น (Modem)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ คอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็ม จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่ง และภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน (Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด, โมเด็มภายนอก (External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็นแบบ PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ สำคัญตัวหนึ่งในการทำทั้งเครื่องศูนย์บริการและเครื่องลูกข่ายสามารถสื่อสารติดต่อกันได้ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรให้สามารถใช้ร่วมกันได้และการควบคุมระบบความปลอดภัยบนเครือข่าย

โมเด็ม (Modem: Modulator – DEModulator)
โมเด็มเป็นอุปกรณ์การสื่อสารชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์เป็นช่องทางสื่อสารข้อมูลโดยหน้าที่ของโมเด็ม คือ การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นข้อมูลอนาล็อกเพื่อให้ข้อมูลสามารถเดินทางไปตามสายโทรศัพท์ได้และเมื่อไปถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางก็จะมีโมเด็มอีกตัวแปลงข้อมูลลอนาล็อกให้กลับเป็นข้อมูลดิจิตอลแล้วส่งเข้าไปประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไป ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการให้ระบบเครือข่ายของตนสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ จะต้องติดตั้งโมเด็มด้วยเสมอ (ยกเว้นองค์การที่มีการเช่า Leased Line)
ในปัจจุบันมีโมเด็มให้เลือกใช้อยู่ 3 ชนิด คือ โมเด็มแบบอินเทอร์นอลโมเด็มแบบเอ็กซ์เทอร์นอล และโมเด็มแบบไร้สาย
® โมเด็มแบบอินเทอร์นอล
โมเด็มแบบอินเทอร์นอล เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นแผงวงจรติดตั้งอยู่ภายในเคส (Case) ดังนั้นชื่อของโมเด็มชนิดนี้จึงเรียกว่า โมเด็มแบบอินเทอร์นอลนั่นเองราคาของโมเด็มอินเทอร์นอลนั้นถูกกว่าแบบเอ็กซ์เทอร์นอลมาก แต่มีหน้าที่การทำงานเหมือนกันและข้อเสียตรงที่การติดตั้งยากและเคลื่อนย้ายไม่สะดวกตัวอย่างดังรูปที่ 4.12 (a)
® โมเด็มแบบ เอ็กซ์เทอร์นอล (External modem)
โมเด็มแบบเอ็กซ์เทอร์นอล เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกมาต่างหากไม่ใช่เป็นการ์ดเหมือนอินเทอร์นอลอาศัยช่องเสียบด้านหลังเคส (Case) ที่เรียกว่า “พอร์ต (Port)” เป็นจุดเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดซึ่งการเลือกซื้อโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอลผู้ซื้อจะต้องพิจารณาที่พอร์ตด้วยว่าใช้เชื่อมต่อกับพอร์ตแบบใด เช่น พอร์ต USB หรือพอร์ต Serial เป็นต้นส่วนราคาของโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอลจะสูงกว่าแบบอินเทอร์นอลแต่มีข้อดีคือติดตั้งและเคลื่อนย้ายไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ง่ายกว่าตัวอย่างดังรูปที่ 4.12 (b)
® โมเด็มแบบไร้สาย (Wireless Modem)
โมเด็มแบบไร้สาย ใช้การสื่อสารด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ปัจจุบันจะมีราคาสูงกว่าโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอลและอินเทอร์นอลตัวอย่างดังรูปที่ 4.12 (c)


Fax Modem
ทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องโทรสาร (Fax) และโมเด็ม (Modem) ภายในอุปกรณ์ตัวเดียวโดย Fax เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับและส่งเอกสารไปบนเครือข่ายซึ่งเอกสารนั้นอาจเป็นได้ทั้ง ข้อความ รูปวาด รูปภาพ หรือข้อความที่เขียนด้วยมือ โดย Fax Modem จะทำการส่งข้อมูลที่แสดงผลอยู่บนจอในขณะนั้นออกไปยังเครื่องของผู้รับแต่จะต้องใช้ควบคู่กับซอฟต์แวร์เฉพาะอุปกรณ์ชิ้นนี้จะมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับโมเด็ม
มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer: Mux)
มัลติเพล็กเซอร์ เป็นอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการรวมสัญญาณหลาย ๆ สัญญาณจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่งเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้สามารถเดินทางไปในช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวได้และที่ปลายทางก็จะมีดีมัลติเพล็กเซอร์ (Demultiplexer: Demux) ทำหน้าที่ในการแบ่งสัญญาณกลับไปเป็นหลาย ๆ สัญญาณดังเดิม

รูปที่ 4.13 แสดงการทำมัลติเพล็กซิ่งและดีมัลติเพล็กซิ่ง

Ä การมัลติเพล็กแบบแบ่งตามความถี่ (FDM: Frequency Division Multiplexing)
FDM เป็นการรวมเอาสัญญาณที่มีความถี่แตกต่างกันมาไว้ด้วยกันแล้วส่งออกไปพร้อม ๆ กันซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้กันมากในด้านวิทยุและโทรทัศน์ รูปที่ 4.14


รูปที่ 4.14 แสดงการมัลติเพล็กแบบแบ่งตามความถี่ (a) ข้อมูลก่อน
การมัลติเพล็กอยู่ในช่วงความถี่เดียวกัน (b) ข้อมูลถูกจัด
ให้อยู่ในช่วงความถี่ที่ต่างกัน (c) ข้อมูลหลังการมัลติเพล็ก
ถูกส่งไปพร้อมกัน

Ä การมัลติเพล็กแบบแบ่งตามเวลา (TDM: Time Division Multiplexing)
TDMเป็นการแบ่งช่วงเวลาในการส่งสัญญาณออกเป็นช่วงเล็ก ๆ แล้วส่งข้อมูลจากแต่ละแหล่งไปในแต่ละช่วงเวลานั้น เช่น ข้อมูลจากแหล่งที่ 1 ส่งไปในช่วงเวลา t1 ข้อมูลจากแหล่งที่ 2 ส่งไปในช่วงเวลา t2 เป็นต้นเพื่อให้สามารถส่งสัญญาณข้อมูลที่มาจากหลาย ๆ แหล่งออกไปได้ในสายสัญญาณเส้นเดียว ดังรูปที่ 4.15 วิธี TDM นี้ใช้ได้กับสัญญาณดิจิตอลเท่านั้น


รูปที่ 4.15 แสดงการมัลติเพล็กแบบแบ่งตามเวลา
PBX (Private Branch Exchange)
PBX คือชุมสายโทรศัพท์ย่อยขององค์กร หรือตู้สาขาโทรศัพท์โดยจะมีความสามารถในการเลือกเส้นทางต่อสัญญาณสายโทรศัพท์โดยอัตโนมัติหรือ ARS (Automatic Route Selection) ความสามารถนี้จะช่วยประหยัดค่าโทรศัพท์ทางไกลได้โดยที่ ARS จะเลือกเฉพาะเส้นทางที่มีค่าบริการต่ำสุดก่อนเป็นอันดับแรกโดยอัตโนมัติ PBX แบบดิจิตอลในปัจจุบันมีความสามารถในการรวมสัญญาณเสียง (Voice) และข้อมูล (Data) เข้าด้วยกันและส่งไปพร้อมกันตามสายสัญญาณจากภายในอาคารออกไปสู่สายภายนอกได้ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ภายในจำนวนมากกับสายโทรศัพท์ของบริษัทที่ต่อออกสู่ภายนอกที่มีจำนวนน้อยได้

โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท
โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้ 1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K 2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ 3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้ 4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง 5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems) 6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย
ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่ 1. พบปะพูดคุย 2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน 3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต 4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้ 5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้ 6. ส่ง - รับโทรสาร 7. ตอบรับโทรศัพท์
การเลือกซื้อโมเด็ม
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น 1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ 2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ 3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ 4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน 5. การบีบอัดข้อมูล 6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด 7. รับ - ส่งโทรสารได้ 8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม
การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่ 1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร 2. พอร์ทอนุกรม (serial port) 3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม 4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ (ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา) 5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot
โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์รับ หรือ ส่งข้อมูล แฟ็กซ์ ผ่านสายโทรศัพท์ได้
โมเด็มย่อมาจากคำสองคำ คำว่า MO ย่อมาจาก MOdulation เป็นการแปลงสัญญาณดิจิตอล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางให้กลายเป็นสัญาณอนาลอกแล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์ DEM ย่อมาจาก DEModulation เป็นการเปลี่ยนจากสัญญาณอนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง
สัญญาณจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณ Digital มีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น เมื่อเปลี่ยนมาเป็นสัญญาณอนาลอกอยู่ ในรูปที่คล้ายกับสัญญาณไฟฟ้า ของโทรศัพท์ จึงส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ สำหรับความไวของ โมเด็มที่ความไว 28.8 Kb. และ 33.6 Kb. นี่ไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้เพราะมีมาตรฐาน เดียวกัน แต่โมเด็ม ความไวขนาด 28.8 Kb. ตอนนี้ไม่ค่อยมีใครใช้แล้ว สำหรับความไวที่ 33.6 Kb. นั้นยังผลิต และจำหน่ายเนื่อง จากยังมีผู้ใช้กันอยู่ Kb. นี่ย่อมาจากคำว่า Kilobit ครับ สังเกตตรงตัว b ซึ่งเป็นตัวเล็กจะอ่านเป็น bit หากเขียนตัวใหญ่ เช่นค่าความจุของฮาร์ดดิสก์จะเรียกป็น Kilobyte และเขียนเป็น KB. หรือ MB. เช่น Harddisk 540 MB. ฮาร์ดดิสก์ มีความจุ 540 เมกกะไบต์ สำหรับปัจจุบันนี้ความไวของโมเด็มจะสูงขึ้นที่ 56 Kb. ตอนแรกมีมาตรฐานออกมา 2 อย่างคือ X2 และ K56Flex ออกมาเพื่อแย่งชิงมาตรฐานกัน ทำให้สับสน ในการใช้งาน ต่อมามาตรฐานสากล ได้กำหนดออกมาเป็น V.90 เป็นการยุติความไม่แน่นอน ของการใช้งาน โมเด็มบางตัวสามารถ อัพเดทเป็น V.90 ได้ แต่บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ ตอนซื้อควรกำหนด ให้เป็นมาตรฐาน V.90 เลย จะได้ไม่มีปัญหา สำหรับโมเด็มปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการรับส่ง Fax ด้วย ความไวในการส่ง Fax จะอยู่ที่ 14.4 Kb. เท่านั้น หากดูตามรูปร่างการใช้งานก็จะแบ่งออกได้เป็น 3 อย่างคือ
1. โมเด็มภายใน (Internal Modem)
2. โมเด็มภายนอก (External Modem)
3. โมเด็ม PCMCIA
ข้อดีและเสียก็มีต่างกันครับ อันนี้จะไม่เอา PCMCIA มาเกี่ยวเนื่องจากจะนำไปใช้กับพวก Notebook
มาตราฐาน
Internal Modem Internal Modem เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบกับสล็อตของเครื่องอาจจะเป็นแบบ ISA หรือ PCI ข้อดีก็คือ 1. ไม่เปลืองเนื้อที่ ไม่เกะกะ 2. ราคาถูก 3. ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงต่างหาก เปิดเครื่องใช้งานได้ทันที เนื่องจากติดตั้งอยู่ในเครื่องแล้ว 4. ไม่มีปัญหากับเครื่องคอมรุ่นเก่าที่มีชิพ UART ที่มีความไวต่ำ เพราะการทำงานไม่ผ่าน serial port 5. ส่งถ่ายข้อมูลได้สูงกว่าแบบที่อยู่ภายนอก ข้อเสียคือ 1. ติดตั้งยากกว่า แบบภายนอก 2. เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทำให้ใช้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อน ในเครื่อง 3. เสียสล็อตของเครื่องไปหนึ่งสล็อต 4. เคลื่อนย้ายไปใช้เครื่องอื่นได้ยาก 5. ติดตั้งได้เฉพาะเครื่องคอมแบบ PC เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ NoteBook ได้
External Modem External Modem เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกโดยจะต่อกับ Serial Port อาจจะเป็นที่ Com1 หรือ Com2 บางครั้งนาน ๆ เจอก็ติดที่ Pararel port ก็มีบ้าง (ยังไม่เคยเจอเลย) ข้อดีคือ 1. สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ง่าย 2. ติดตั้งได้ง่ายกว่า 3. ไม่เพิ่มความร้อนให้ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากติดตั้งอยู่ภายนอกและใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก 4. สามารถใช้ งานกับเครื่อง NoteBook ได้เนื่องจากต่อกับ Serial Port หรือ Parallel Port มีไฟแสดง สภาวะการทำงานของโมเด็ม ข้อเสีย 1. มีราคาแพง 2. เกะกะ 3. เกิดปัญหาจากสายต่อได้ง่าย 4. เสียพอร์ต Serial หรือ Parallel Port ไปหนึ่งอัน 5. หากใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าจะทำให้ได้ความไวต่ำเนื่องจากชิพ UART ของเครื่องรุ่นเก่ามีความไวต่ำ
ในการเลือกใช้จึงต้องดูหลายประการเช่น ทุนทรัพย์ ความสะดวกในการใช้งาน คอมพิวเตอร์ เป็นรุ่นเก่า ก็ควรใช้แบบ internal และหากมีแต่ Slot ISA ก็ต้องเลือกแบบ ISA Internal หากต้องการเคลื่อนย้ายไปใช้กับ เครื่องอื่นอยู่เรื่อยก็ต้องใช้แบบภายนอก อีกอย่างก็เป็น ความชอบก็มีส่วนอยู่ด้วยครับ หากให้สะดวกก็ควรเป็น แบบ Internal ครับจะได้ความไวที่ โดยมากจะสูงกว่าแบบภายนอก แต่หากมีปัญหาทุนทรัพย์ก็คงต้องเลือก แบบ Internal อีกแหละ ก็มีปัจจัยหลายอย่างในการเลือกใช้ครับ แต่ก็ต้องดูด้วยว่า ISP (Internet Service Provider) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่คุณใช้นั้นรองรับ มาตรฐานแบบไหนแต่ที่แน่นอนก็ต้องเลือกให้มีมาตรฐาน V.90 ครับ
ข้อเสียของโมเด็มรุ่นใหม่ ๆ ที่มีราคาถูกที่เป็น Internal PCI คือผู้ผลิดเขาจะตัดชิพที่ ทำหน้าที่ ตรวจสอบความผิดพลาด แก้ไขสัญญาณรบกวน (Error Correction) ที่มีมาก ในสายโทรศัพท์ในบางที่ แล้วไปใช้ความสามารถของซีพียูมาทำหน้าที่นี้แทน ทำให้เกิดการใช้ งานซีพียูเพิ่มมากขึ้นทำให้ความเร็วของ เครื่องลดลง หรือสัญญาณโทรศัพท์อาจตัดหรือ เรียกว่าสายหลุดได้ง่าย ตรงนี้ควรนำมาพิจารณาเป็นพิเศษ
จากที่เรียบเรียงมานี่จะได้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อโมเด็มว่าจะใช้แบบ Internal หรือ External ดีและเป็นคำตอบที่ว่า การใช้โมเด็มบางตัวทำไมทำ เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง หรือว่าทำไมสายหลุดง่ายจังเลย ส่วนการเลือกซื้อนั้น ยังมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องด้วยเช่น ยี่ห้อ ระยะเวลา การรับประกัน ความรับผิดชอบของตัวแทนจำหน่าย การอัพเดทไดรฟ์เวอร์ ประวัติความคงทน และความสามารถพิเศษอื่น ๆ เป็นต้นครับ การเลือกซื้อโมเด็มควารเป็นโมเด็มที่มีความไว 56 K และต้องสนับสนุนมาตรฐาน V.90 นอกจากดูความเร็ว แล้ว ยังต้องดูอัตราความเร็ว Throughputs ด้วย โดย แบบเดิมโดยมากทำได้ 115,200 bit/s แต่ในปัจจุบัน จะทำได้ถึง 223,400 bit/s ทำใประหยัดเวลาในการใช้ งานอินเทอร์เน็ตและช่วยให้ดาวน์โหลดไฟล์ได้เร็วขึ้น อีก ทั้งเป็นการประหยัดค่าอินเทอร์เน็ตด้วย สำหรับคุณสมบัติ ที่ควรมีของโมเด็มคือ DSVD ที่ทำให้โมเด็มสามารถส่งผ่าน ข้อมูล Voice และ Data ได้ในขณะเดียวกันได้โดยความ เร็วไม่ลดลง และดูสิ่งที่ให้มาด้วยเช่น ซอฟท์แวร์ต่าง ๆ รวมทั้งดูว่าสามารถใช้อ่านอื่น ๆ ได้เช่น Fax, Voice, Mail และ Call ID เป็นต้น
การทำเครื่อง PC เป็น Fax
จากที่กล่าวไว้ว่า modem สามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการส่งแฟ๊กซ์ผ่านเครื่อง PC ได้ ซึ่งการทำนั้นไม่ยากเลย เพืยงแค่ติดตั้ง Modem จากนั้นเพียงติดตั้งโปรแกรมที่สามารถรับและส่งแฟ๊กซ์ได้ (ปกติจะแถมมาพร้อมกับ Modem) สำหรับโปรแกรมที่นิยมใช้ในการทำเป็นเครื่อง Fax ได้แก่
1. WinFax
2. Supervoice
การใช้งานเพียงแต่เลือกเครื่องพิมพ์ ที่เป็นประเภท FAX เท่านั้นก็ใช้งานได้ทันที

http://www.mary.ac.th/nattawut/kmodem.html
http://bc425.212cafe.com/archive/2007-12-14/telecommunication-devices/
www.google.co.th